ReadyPlanet.com


กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับ...หม้อไอน้ำในประเทศไทย


บทความพิเศษ กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับ...หม้อไอน้ำในประเทศไทย โดย อ.วงกต วงศ์อภัย ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หม้อไอน้ำ (Boiler) สามารถจัดได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญยิ่งในระบบการผลิตของโรงงาน อุตสาหกรรมในปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันหม้อไอน้ำจัดว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความ เสียหายอันจะนำมาซึ่งอันตรายขณะใช้งานสูงหากปราศจากการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง และสม่ำเสมอ ซึ่งอันตรายที่เกิดขึ้นอาจสามารถสร้างความสูญเสียต่อทรัพยากรบุคคลและ ทรัพย์สินได้เป็นอย่างมาก กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะของหน่วยงานหลักของประเทศที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการดำเนิน กิจการของโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศ จึงได้ประกาศใช้กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เพื่อควบคุมการใช้งานของหม้อไอน้ำให้ถูกต้องตามหลักปฏิบัติสากลและปลอดภัย ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยในบทความนี้จะนำบางส่วนของกฏหมายควบคุมการประกอบการที่เกี่ยวกับการใช้ หม้อไอน้ำที่สำคัญของประเทศไทยมานำเสนอเป็นบางส่วน ดังนี้ 1. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2535 มีเนื้อหาและสาระสำคัญคือ การแบ่งประเภท ชนิดและขนาดของโรงงานอุตสาหกรรมการกำหนดลักษณะของเครื่องจักรและข้อกำหนดการ ตั้งโรงงาน การกำกับดูแลโรงาน และบทกำหนดโทษต่างๆ 2. กฏกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 108 ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2535 มีเนื้อหาและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำ ดังนี้ กฏกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) หมวด 2 เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์หรือสิ่งที่นำมาใช้ในโรงงาน ข้อ 6 เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ หรือสิ่งที่นำมาใช้ในโรงงานต้องเป็นดังต่อไปนี้ (1) มั่นคง แข็งแรง และเหมาะสม และในกรณีมีเหตุอันควร รัฐมนตรีจะกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้การนำเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งที่นำมาใช้ในโรงงานชนิดใดต้องมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ ได้ (2) ใช้เครื่องจักรที่มีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนเสียง หรือคลื่นวิทยุ รบกวนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง (3) มีเครื่องป้องกันอันตรายอันอาจเกิดจากส่วนที่เคลื่อนไหวของเครื่องจักรตามความจำเป็นเหมาะสม (4) บ่อหรือถังเปิดที่ทำงานสนองกันกับเครื่องจักรที่อาจเป็นอันตรายในการปฏิบัติ งานของคนงาน ต้องมีขอบหรือราวกั้นแข็งแรงและปลอดภัยทางด้านที่คนเข้าถึงได้สูงไม่น้อย กว่า 100 เซนติเมตร จากระดับพื้นที่ติดกับบ่อหรือถังนั้น (5) หม้อไอน้ำ (boiler) หม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซหรือเป็นสื่อนำความร้อน เครื่องอัดก๊าซ (compressor) หรือถังปฏิกิริยา (reactor) และระบบท่อ เครื่องจักรหรือภาชนะที่ทำงานสนองกัน โดยมีความกดดันแตกต่างจากบรรยากาศ ซึ่งใช้กับหม้อไอน้ำ หม้อต้มที่ใช้ ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อน เครื่องอัดก๊าซ หรือถังปฏิกิริยาดังกล่าว ต้องได้รับการออกแบบคำนวณ และสร้างตามมาตรฐานที่ยอมรับ หรือผ่านการทดสอบความปลอดภัยในการใช้งาน โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรี กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาการติดตั้งต้องมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยในการ ใช้งาน มีอุปกรณ์ความปลอดภัย และมีส่วนประกอบที่จำเป็นตามหลักวิชาการ โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรี กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (6) ภาชนะบรรจุที่มีความกดดันต่างจากบรรยากาศ (pressure vessel) ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับ มีอุปกรณ์ความปลอดภัยและส่วนประกอบที่จำเป็นตามหลักวิชาการ โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (7) ภาชนะบรรจุวัตถุอันตราย เช่น วัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด วัตถุเคมี หรือของเหลวอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อมที่มีขนาดของภาชนะบรรจุตั้งแต่ 25,000 ลิตรขึ้นไปต้องมั่นคงแข็งแรงเป็นไปตามมาตรฐานที่ยอมรับโดยมีคำรับรองของผู้ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราช กิจจานุเบกษาและต้องสร้างเขื่อนหรือกำแพงคอนกรีตโดยรอบให้มีขนาดที่สามารถจะ กักเก็บปริมาณของวัตถุดังกล่าวได้ทั้งหมด เว้นแต่กรณีที่มีภาชนะบรรจุมากกว่าหนึ่งถังให้สร้างเขื่อนที่สามารถเก็บกัก วัตถุอันตรายนั้น เท่ากับปริมาตรของถังเก็บขนาดใหญ่ที่สุด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของวัตถุที่บรรจุได้อย่างมีประสิทธิภาพในกรณี เมื่อเกิดวิบัติแก่ภาชนะดังกล่าว และต้องจัดให้มีวัตถุหรือเคมีภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการระงับหรือลด ความรุนแรงของการแพร่กระจายได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ ในกรณีที่ภาชนะบรรจุนั้นตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง ต้องมีสายล่อฟ้าให้เป็นไปตามหลักวิชาการและภาชนะบรรจุที่อาจเกิดประจุไฟฟ้า สถิตย์ได้ในตัวต้องต่อสายดิน (8) การติดตั้งท่อและอุปกรณ์สำหรับส่งวัตถุตามท่อต้องเป็นไปตามหลักวิชาการที่ยอมรับกัน (9) ระบบไฟฟ้า การเดินสายไฟฟ้า และการติดตั้งเครื่องยนต์ไฟฟ้า สวิทซ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าอื่น ต้องเป็นไปตามหลักวิชาการที่ยอมรับกันโดยมีคำรบรองของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ 8 โรงงานที่มีการใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจาก บรรยากาศ ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีผู้ควบคุม (Operator) ประจำหม้อไอน้ำ (Boiler) หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อน ทั้งนี้ โดยผู้ควบคุมดังกล่าว ต้องมีคุณวุฒิได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างกลโรงงาน หรือช่างยนต์ หรือช่างผู้ชำนาญงานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ (Boiler) จากกระทรวงอุตสาหกรรม หรือสถาบันอื่นที่กระทรวงอุตสาหกรรมรับรอง โรงงานที่มีการใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) ขนาดกำลังผลิตตั้งแต่ 20 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป นอกจากต้องดำเนินการจัดให้มีผู้ควบคุมดังกล่าวแล้ว ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่น ที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นวิศวกรผู้ควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) ด้วย ข้อ 9 โรงงานที่ประกอบกิจการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำ (Boiler) หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนผู้ประกอบกิจการต้องจัด ให้มีผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นผู้ควบคุมการสร้างหรือการซ่อม 3. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 108 ลงวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2535 มีเนื้อหาและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำ ดังนี้ กฏกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 8 (7) แห่ง พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 2 โรงงานที่มีการใช้หม้อไอน้ำ (Boiler) หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจาก บรรยากาศต้องจัดทำรายงานข้อมูลการตรวจและการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ข้อ 3 โรงงานที่ประกอบกิจการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำ (Boiler) หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวหรือก๊าซเป็นสื่อนำความร้อนที่มีความกดดันต่างจาก บรรยากาศต้องจัดทำรายงานข้อมูลการผลิต การตรวจและการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ข้อ 6 ให้โรงงานที่มีการผลิต การเก็บ หรือการใช้วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย ต้องจัดทำข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet) เกี่ยวกับลักษณะอันตรายตามคุณสมบัติของวัตถุนั้นๆ 4. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 เรื่องหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 102 ตอนที่ 27 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 มีเนื้อหาและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำ ดังนี้ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2528) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 39(12) และ (16) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานมีหน้าที่ต้องกระทำการ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทุกประเภทหรือชนิดที่มีการใช้หม้อไอน้ำ สำหรับประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย ดังนี้ 1.1 ต้องติดตั้งลิ้นนิรภัย (Safety Valve) อย่างน้อย 2 ชุด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบ่าลิ้นนิรภัยไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร ที่สามารถตรวจทดสอบการใช้งานได้ง่ายสำหรับหม้อไอน้ำที่มีพื้นที่ผิวรับความ ร้อนน้อยกว่า 50 ตารางเมตร จะมีลิ้นนิรภัยเพียง 1 ชุด ก็ได้ในการติดตั้งลิ้นนิรภัยต้องไม่มีลิ้นเปิดปิด (Stop Value) คั่นระหว่างหม้อไอน้ำกับลิ้นนิรภัย และต้องมีท่อระบายไอน้ำจากลิ้นนิรภัยไปยังที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย 1.2 ต้องติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำชนิดหลอดแก้วไว้ให้เห็นได้ชัดพร้อมลิ้นปิด เปิดเพื่อตรวจสอบระดับน้ำและต้องมีท่อระบายไปยังที่เหมาะสมปลอดภัย ทั้งนี้ต้องจัดให้มีเครื่องป้องกันหลอดแก้วด้วย 1.3 ต้องติดตั้งเครื่องวัดความดันไอน้ำ (Pressure Gauge) ขนาดหน้าปัทม์เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร มีสเกลสามารถวัดความดันได้ 1.5 ถึง 2 เท่า ของความดันใช้งานสูงสุดและต้องมีเครื่องหมายแสดงระดับความดันอันตรายไว้ให้ เห็นได้ชัดเจน 1.4 ต้องติดตั้งเครื่องสูบน้ำเข้าหม้อไอน้ำ (Feed Water Pump) ขนาดความสามารถอัดน้ำได้อย่างน้อย 1.5 เท่า ของความดันใช้งานสูงสุด และความสามารถในการสูบน้ำเข้าต้องมากกว่าอัตราการผลิตไอน้ำ 1.5 ต้องติดตั้งลิ้นกันกลับ (Check Value)ที่ท่อน้ำเข้าหม้อไอน้ำโดยติดตั้งให้ใกล้หม้อไอน้ำมากที่สุดและมีขนาด เท่ากับท่อน้ำเข้า 1.6 ต้องติดตั้งลิ้นจ่ายไอน้ำ (Main- Steam Value) ที่ตัวหม้อไอน้ำ 1.7 โรงงานที่มีหม้อไอน้ำตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ที่ใช้ท่อจ่ายไอน้ำร่วมกันต้องติดตั้งลิ้นกันกลับ (Check Value) ที่ท่อหลังลิ้นจ่ายไอน้ำ (Main Steam Value) ของหม้อไอน้ำแต่ละเครื่อง 1.8 หม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว เช่น น้ำมัน ก๊าซ ต้องติดตั้งเครื่องควบคุมความดัน (Pressure Control) และเครื่องควบคุมระดับน้ำอัตโนมัติ (Water Level Control) 1.9 ต้องติดตั้งสัญญาณเตือนอัตโนมัติ (Automatic Alarm) แจ้งอันตรายเมื่อระดับน้ำในหม้อไอน้ำต่ำกว่าระดับใช้งานปกติ 1.10 ต้องจัดให้มีฉนวนหุ้มท่อจ่ายไอน้ำโดยตลอด 1.11 ท่อน้ำ ท่อจ่ายไอน้ำ ลิ้นปิดเปิดทุกตัวและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้กับหม้อไอน้ำ ต้องเป็นชนิดที่ใช้สำหรับหม้อไอน้ำเท่านั้น และเหมาะสมกับความดันใช้งานด้วย 1.12 หม้อไอน้ำที่สูงเกินกว่า 3 เมตรจากพื้นต้องติดตั้งบันไดและทางเดินไว้รอบหม้อไอน้ำ 1.13 ต้องจัดให้มีลิ้นปิดเปิด (Blow Down Value) เพื่อระบายน้ำจากส่วนล่างสุดของหม้อไอน้ำ ให้สามารถระบายได้สะดวกไปยังที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย ข้อ 2 ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทุกประเภทหรือชนิดที่มีการใช้หม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน (ชนิดที่มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายคลึงหม้อไอน้ำและใช้งานคล้ายคลึงกับหม้อไอน้ำ) สำหรับประกอบกิจการโรงงาน ต้องจัดให้มีการตรวจทดสอบความปลอดภัยในการใช้งานของหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อความร้อนทุกๆ ปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยวิศวกรสาขาเครื่องกลประเภทสามัญวิศวกร หรือวุฒิวิศวกร หรือผู้ได้รับใบอนุญาตพิเศษให้ตรวจทดสอบหม้อไอน้ำตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ วิศวกรรม พ.ศ. 2505 แล้วส่งเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อความร้อน ตามแบบที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้ตรวจทดสอบ "สำหรับหม้อไอน้ำขนาดกำลังผลิตไอน้ำตั้งแต่ 20 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป ที่มีการออกแบบโครงสร้างการผลิตและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายตามมาตรฐานสากล หากประสงค์จะตรวจทดสอบความปลอดภัยในการใช้งานภายในระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี ต่อการตรวจทดสอบหนึ่งครั้ง ก็ให้กระทำได้โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเสียก่อน ทั้งนี้ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของน้ำสำหรับหม้อไอน้ำให้มีคุณภาพ เป็นมาตรฐานสากลต้องมีห้องปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจสอบคุณภาพนี้ สำหรับหม้อไอน้ำและต้องจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในการควบคุมหม้อไอน้ำ โดยมีวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำรับรอง ส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกๆ 6 เดือน กรณีที่มีการซ่อม หรือมีการเคลื่อนย้ายหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ต้องจัดให้มีการตรวจทดสอบและส่งเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้งานตามแบบ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดโดยบุคคลที่มีคุณวุฒิดังกล่าวในวรรคแรกไปให้กรม โรงงานอุตสาหกรรมรับทราบก่อนที่จะใช้งาน" (ในเครื่องหมายคำพูดเป็นส่วนเพิ่มเติมจากประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 26 พ.ศ.2535) ข้อ 3 ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทุกประเภทหรือชนิดที่มีการใช้หม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน (ชนิดที่มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศซึ่งมีรูปร่างคล้ายคลึงหม้อไอน้ำ และใช้งานคล้ายคลึงกับหม้อไอน้ำ) สำหรับประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้ม ที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน (Operator) ที่มีคุณวุฒิได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างกลโรงงาน หรือช่างยนต์ หรือช่างผู้ชำนาญงาน ที่ผ่านการทดสอบฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถาบันอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรอง ข้อ 4 ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่ประกอบกิจการโรงงานสร้างหรือซ่อม หม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนต้องจัดให้มีวิศวกร สาขาเครื่องกลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 เป็นผู้ควบคุมการสร้างหรือซ่อม ข้อ 5 วิศวกรผู้ตรวจทดสอบความปลอดภัยในการใช้งานหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของ เหลวเป็นสื่อนำความร้อน ผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน วิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ และวิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อ นำความร้อนตามที่กล่าวไว้ในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามระเบียบและ วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ข้อ 6 กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรควบคุม และอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ วิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำ ความร้อนและผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความ ร้อนของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานใดลาออก หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่แล้ว หรือขาดต่ออายุการขึ้นทะเบียน หรือไม่ได้รับการอนุญาตให้ต่ออายุการขึ้นทะเบียน หรือถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียน ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานรายนั้น ต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบทันที และจัดหามาทดแทนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ข้อ 7 ประกาศฉบับนี้ให้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2528 (นายอบ วสุรัตน์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 5. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2536) และฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2539) ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ ที่ระบายออกจากโรงงาน ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 109 ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2536 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนที่ 74 ง ลงวันที่ 12 กันยายน 2539 ตามลำดับ มีเนื้อหาและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำ ดังนี้ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน อาศัยอำนาจตามความในข้อ 16 แห่ง กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจึงออกประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานไว้ดังนี้ ข้อ 1 อากาศที่สามารถระบายออกจาโรงงาน ต้องมีค่าปริมาณของสารแต่ละชนิดเจือปนไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ลำดับที่ ชนิดของสารเจือปน แหล่งที่มาของสาร ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ (mg/m3) 1. ฝุ่นละออง (Particulate) หม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงดังนี้ น้ำมันเตา 300 ถ่านหิน 400 เชื้อเพลิงอื่นๆ 400 การถลุง หล่อหลอม รีดดึง และ/หรือผลิตเหล็กกล้า อลูมิเนียม 300 การผลิตทั่วไป 400 2. พลวง (Antimony) การผลิตทั่วไป 20 3. สารหนู (Arsenic) การผลิตทั่วไป 20 4. ทองแดง (Copper) การหลอมหรือการถลุง 30 5. ตะกั่ว (Lead) การผลิตทั่วไป 30 6. คลอรีน (Chlorine) การผลิตทั่วไป 30 7. ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride) การผลิตทั่วไป 200 8. ปรอท (Mercury) การผลิตทั่วไป 3 9. คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon Monoxide) การผลิตทั่วไป 1,000 หรือ 870 ส่วนในล้านส่วน 10. กรดกำมะถัน (Sulfuric Acid) การผลิตทั่วไป 100 หรือ 25 ส่วนในล้านส่วน 11. ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) การผลิตทั่วไป 140 หรือ 100 ส่วนในล้านส่วน 12. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) การผลิตกรดซัลฟูริค 1,300 หรือ 500 ส่วนในล้านส่วน 13. ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of Nitrogen) หม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงดังนี้ (วัดในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์) - ถ่านหิน 740 หรือ 500 ส่วนในล้านส่วน - เชื้อเพลิงอื่นๆ 470 หรือ 250 ส่วนในล้านส่วน 14. ไซลีน (Xylene) การผลิตทั่วไป 870 หรือ 200 ส่วนในล้านส่วน ข้อ 2 การวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานให้วัดอากาศที่ระบายออกจากปล่องในขณะประกอบกิจการโรงงาน ในกรณีที่ ไม่มีปล่องให้วัดที่ช่องระบายอากาศ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าน่าจะมีปริมาณของสารเจือปนระบายออกมากที่สุด ข้อ 3 ระดับค่าปริมาณของสารแต่ละชนิดที่เจือปนในอากาศ ให้คำนวณเทียบที่ความดัน 1 บรรยากาศ และอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ประกาศ ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2539 เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน (เพิ่มเติม) อาศัยอำนาจตามความในข้อ 16 แห่ง กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน ดังนี้ ข้อ 1 อากาศที่สามารถระบายออกจากโรงงานต้องมีค่าปริมาณของสารเจือปนที่ปริมาณอากาศส่วนเกินร้อยละ 20 ไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ชนิดของสารเจือปน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) แหล่งที่มาของสาร การเผาไหม้ที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศ 1,250 ส่วนในล้านส่วน ข้อ 2 การวัดค่าปริมาณของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานให้วัด อากาศที่ระบายออกจากปล่องในขณะประกอบกิจการโรงงาน ในกรณีที่ไม่มีปล่องให้วัดที่ช่องระบายอากาศ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าจะมีปริมาณของสารเจือปนระบายออกมากที่สุด ข้อ 3 ระดับค่าปริมาณของสารที่เจือปนในอากาศให้คำนวณเทียบที่ความดัน 1 บรรยากาศและอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเฉพาะโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ประกาศ ณ วันที่ 3 กันยายน 2539 (นายสนธยา คุณปลื้ม) รักษาราชการแทนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 6. ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2528 มีเนื้อหาและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำ ดังนี้ ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ วิศวกรตรวจทดสอบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน วิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำหรือต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2528 ตามความในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2528) ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 เรื่องหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงานจัดให้มีวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ วิศวกรตรวจสอบหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำ หรือ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนและบุคคลดังกล่าวต้องขึ้นทะเบียนตาม ระเบียบและวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดนั้นกรมโรงงานอุตสาหกรรมจึง วางระเบียบและวิธีการขึ้นทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรควบคุมและอำนวย การใช้หม้อไอน้ำวิศวกรตรวจสอบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำ ความร้อน วิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำ ความร้อน และผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2528 อนึ่งคำว่า "หม้อต้มฯ" ที่จะกล่าวต่อไปในระเบียบนี้ให้หมายถึง หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน (ชนิดที่มีความดันสูงกว่าความดันบรรยากาศ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายคลึงหม้อไอน้ำและใช้งานคล้ายคลึงกับหม้อไอน้ำ) ข้อ 2 คุณสมบัติผู้ขอขึ้นทะเบียน 2.1 วิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ วิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ ต้องเป็นวิศวกรสาขาเครื่องกล ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 2.2 วิศวกรตรวจทดสอบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ ต้องเป็นวิศวกรสาขาเครื่องกลประเภทสามัญวิศวกร หรือวุฒิวิศวกร หรือผู้ได้รับใบอนุญาตพิเศษให้ตรวจสอบหม้อไอน้ำตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ วิศวกรรม พ.ศ. 2505 2.3 ผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ ต้องเป็นผู้มีคุณวุฒิได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างกลโรงงานหรือช่างยนต์หรือช่างผู้ชำนาญงานที่ผ่านการทดสอบหลักสูตร ฝึกอบรมผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ จากกรมแรงงานอุตสาหกรรมหรือสถาบันอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรอง ข้อ 3 วิธีการขอขึ้นทะเบียน 3.1 ให้ผู้มีคุณสมบัติตามความในข้อ 2 ยื่นคำขออนุญาตขึ้นทะเบียน พร้อมเอกสารต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบจะออก หนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียนให้ไว้เป็นหลักฐาน 3.2 การขึ้นทะเบียนให้มีอายุครั้งละ 3 ปีปฏิทิน นับแต่ปีที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมออกหนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียน หากประสงค์จะต่ออายุการขึ้นทะเบียน ให้ยื่นคำขอต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนวันที่หนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียนจะหมดอายุ เมื่อยื่นคำขอต่ออายุแล้ว ให้ถือว่ายังอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนอยู่ จนกว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรมจะแจ้งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ 3.3 คำขออนุญาตขึ้นทะเบียนคำขอต่ออายุหนังสือนุญาตให้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ 4 หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ 4.1 ต้องควบคุมดูแลผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำ (Operator) ให้ควบคุมดูแลประจำหม้อไอน้ำตลอดเวลา 4.2 ต้องวางแผนและจัดทำแผนในการใช้งานหม้อไอน้ำโดยปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 4.3 ต้องวางแผนและจัดทำแผนในการบำรุงรักษาให้หม้อไอน้ำมีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยอยู่เสมอ 4.4 ต้องควบคุมดำเนินการแก้ไขและซ่อมแซมหม้อไอน้ำให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการ ใช้งาน และจัดให้มีการตรวจทดสอบเพื่อความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 4.5 เมื่อพบข้อบกพร่องของหม้อไอน้ำ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายร้ายแรงให้หยุดใช้หม้อไอน้ำเพื่อทำการซ่อม แล้วแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและกรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ ทันที ข้อ 5 หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรตรวจทดสอบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ 5.1 ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจทดสอบหม้อไอน้ำดังต่อไปนี้ 1. ปั๊มน้ำแรงดันสูงสามารถอัดน้ำทดสอบได้เกินกว่า 1.5 เท่าของความดันใช้งานปกติของหม้อไอน้ำ 2. เครื่องทดสอบลิ้นนิรภัย (Safety Valve) 3. เครื่องทดสอบเกจวัดความดัน (Pressure Gauge) 4. เครื่องวัดความหนาของเหล็ก (Ultrasonic Thickness) ชนิดอ่านเป็นตัวเลข 5. อุปกรณ์วิเคราะห์คุณภาพน้ำ 5.2 เมื่อตรวจทดสอบพบว่าหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ หรือส่วนประกอบและหรืออุปกรณ์ของหม้อไอน้ำหรือของหม้อต้มฯ อยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ต้องแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานดำเนินการปรับปรุง แก้ไขซ่อมแซม หรือเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งานโดยด่วน 5.3 การตรวจทดสอบหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดหรือหลักเกณฑ์ในการตรวจทดสอบหรือตามหลักวิชาการของ วิศวกรรม และกรอกรายงานการตรวจตามแบบเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำหรือ หม้อต้มฯ ตามแบบท้ายระเบียบนี้ ข้อ 6 หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ 6.1 ต้องควบคุมการสร้างหรือซ่อมหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ ให้เป็นไปตามแบบแปลนและรายละเอียดที่ผ่านการรับรองจากวิศวกรแล้วเท่านั้น 6.2 จัดทำรายงานเกี่ยวกับขนาดและจำนวนพร้อมแบบแปลนและรายละเอียดของหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มฯที่สร้างหรือซ่อม และสถานที่ที่นำไปติดตั้งส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบก่อนที่จะนำไปติด ตั้ง ข้อ 7 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ 7.1 ต้องอยู่ดูแลประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มฯ ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ 7.2 ต้องตรวจความเรียบร้อยของหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ ก่อนเดินเครื่องและขณะเดินเครื่องพร้อมทั้งนำบันทึกรายงานประจำวันตามแบบแนบ ท้ายระเบียบนี้ 7.3 บันทึกรายงานประจำวันของหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ ต้องจัดเก็บไว้ให้เรียบร้อยพร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจดูได้ตลอดเวลา 7.4 เมื่อพบว่าหม้อไอน้ำหรือหม้อต้มฯ มีข้อบกพร่องอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต้องหยุดการใช้งานทันทีแล้วรายงานให้ วิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หรือผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือผู้รับ ผิดชอบทราบโดยด่วน ข้อ 8 การเพิกถอนการขึ้นทะเบียน กรณี ผู้ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบของตน ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4, 5, 6, 7 หรือรายงานเท็จ หรือเป็นวิศวกรซึ่งอยู่ในระหว่างพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือใบอนุญาตของ ก.ว. หมดอายุกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะพิจารณาเพิกถอนการขึ้นทะเบียนและอาจดำเนินการ ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นควร ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2528 (นายจำนงค์ พนัสจุฑาบูลย์) อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม 7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ.2519) เป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร มีเนื้อหาและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้หม้อไอน้ำ ดังนี้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519) หมวด 2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อไอน้ำ ข้อ 11 ให้นายจ้างซึ่งใช้หม้อน้ำปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) หม้อไอน้ำที่ใช้ต้องมีคุณภาพแข็งแรง สามารถทนความดันไอน้ำ (Safety Factor) ได้สูงไม่น้อยกว่าสี่เท่าของความดันที่ใช้งานปกติ (2) รอบหม้อไอน้ำต้องมีฉนวนป้องกันการกระจายความร้อนตามผิวโดยรอบ (3) ฐานรากที่ตั้งของหม้อไอน้ำและปล่องควัน ต้องจัดทำให้มั่นคง แข็งแรงโดยวิศวกรโยธา ซึ่ง ก.ว. รับรองเป็นผู้กำหนดและติดตั้งสายล่อฟ้าที่บนปล่องควันด้วย ทั้งนี้ไม่รวมถึงหม้อไอน้ำ และปล่องควันที่ใช้กับยานพาหนะ (4) หม้อไอน้ำ ต้องจัดให้มีลิ้นปลอดภัย (Safety Valve) ที่ปรับความดันไอน้ำให้ถูกต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งชุด และต้องไม่มีลิ้นปิดเปิด(Stop Valve) คั่นระหว่างหม้อไอน้ำกับลิ้นปลอดภัย (5) ต้องติดตั้งเครื่องวัดความดันไอน้ำที่ผลิตได้ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงระดับความดันอันตรายไว้ให้เห็นได้ชัด (6) ต้องติดตั้งเครื่องระดับน้ำชนิดเป็นหลอดแก้วไว้ให้เห็นได้ชัด และต้องมีเครื่อง ป้องกันหลอดแก้วไว้ด้วย (7) ต้องติดตั้งสัญญาณเปล่งเสียงแจ้งอันตราย ในเมื่ออุปกรณ์หรือหม้อไอน้ำขัดข้องอันอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายได้ (8) แผงควบคุมอัตโนมัติและเครื่องวัดต่างๆ ของหม้อไอน้ำต้องติดตั้งไว้ ณ ที่ซึ่งผู้ควบคุมสามารถมองเห็นเปลวไฟ ระดับน้ำและสัญญาณต่าง ๆ ได้ง่าย (9) ต้องจัดทำท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ต่อไปยังเครื่องควบคุมการทำงาน (10) ภาชนะที่บรรจุแก๊สสำหรับใช้ในการติดไฟครั้งแรก ต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัยจากประกายไฟ และลิ้นปิดเปิดต้องไม่รั่วซึม (11) ถังน้ำมันเชื้อเพลิงต้องติดตั้งไว้ ณ สถานที่ปลอดภัยจากการลุกไหม้และท่อน้ำมันเชื้อเพลิงต้องไม่รั่วหรือซึม การวางท่อน้ำมันเชื้อเพลิงต้องวางไว้ในที่ปลอดภัยและไม่กีดขวาง ในกรณีที่ใช้ไม้ฟืนขี้เลื่อย หรือวัสดุอื่นที่เป็นเชื้อเพลิงต้องจัดทำที่เก็บหรือเครื่องปิดบังให้ ปลอดภัย (12) ต้องทำฉนวนสีแดงห่อหุ้มท่อจ่ายไอน้ำโดยตลอด (13) ต้องทำการตรวจซ่อมหม้อไอน้ำทุกส่วนไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง และได้รับการรับรองผลการตรวจจากวิศวกรเครื่องกล ซึ่ง ก.ว. รับรอง และผลของการตรวจสอบทางไฮโดรสแตติก (Hydrostatic) ของหม้อไอน้ำ ต้องมีค่าไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของความดันสูงสุดที่กำหนดให้ใช้สำหรับ หม้อไอน้ำนั้น (14) ต้องทำความสะอาดบริเวณรอบที่ตั้งหม้อไอน้ำมิให้มีคราบน้ำมันหรือสิ่งอื่นที่ติดไฟง่าย ข้อ 12 ให้นายจ้างจัดทำระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในการ ตรวจอุปกรณ์หม้อไอน้ำทุกอย่างก่อนลงมือทำงานและแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ ข้อ 13 ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ ต้องเป็นช่างชั้นต้นซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรประโยคอาชีวศึกษาชั้น สูงแผนกเครื่องกล หรือแผนกช่างกลโรงงานหรือช่างชั้นต้น ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานกรมแรง งานสาขาช่างยนต์หรือช่างกลโรงงานหรือช่างผู้ชำนาญงานที่ผ่านการทดสอบจาก สถาบันของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันอื่น ซึ่งกรมแรงงานรับรองว่าเป็นผู้สามารถควบคุมหม้อไอน้ำหรือช่างผู้ชำนาญงานที่ ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของวิศวกรซึ่ง ก.ว. รับรอง ข้อ 14 การใช้หม้อไอน้ำที่มีอายุเกิน 10 ปี ต้องลดความดันที่ใช้งานสูงสุดลงจนหม้อไอน้ำนั้นสามารถทนความดันที่ใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 6 เท่า ข้อ 15 หม้อไอน้ำที่มีการเคลื่อนย้ายที่ติดตั้งแล้ว ต้องลดความดันที่ใช้งานสูงสุดลงจนหม้อไอน้ำนั้นสามารถทนความดันที่ใช้งานได้ ไม่น้อยกว่า 5 เท่า ข้อ 16 เครื่องมือไฟฟ้าที่มีที่ครอบโลหะอยู่ส่วนใช้สำหรับจับถือ ซึ่งใช้ในการปฏิบัติงานซ่อมและบำรุงรักษาหม้อไอน้ำที่เปรียบชื้นหรือพื้น เป็นโลหะต้องต่อสายดิน หรือจัดทำด้วยวิธีอื่นใดที่อาจป้องกันอุบัติเหตุ เนื่องจากไฟฟ้ารั่วได้ ข้อ 17 ถ้ามีหม้อไอน้ำติดตั้งอยู่ในห้องโดยเฉพาะห้องนั้นจะต้องมีทางออกได้ไม่น้อย กว่าสองทางซึ่งอยู่คนละด้าน และถ้าภายในห้องหม้อไอน้ำมีชั้นปฏิบัติงานหลายชั้น จะต้องทำทางออกไว้ทุกชั้นและต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางออกด้วย และเมื่อไฟฟ้าดับให้มีแสงสว่างฉุกเฉินส่องไปยังทางออกและเครื่องวัสดุต่างๆ รวมทั้งแผงควบคุมให้เห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ 18 หม้อไอน้ำที่สูงเกินกว่า 10 ฟุตจากพื้น ต้องทำบันไดและทางเดินไว้รอบหม้อไอน้ำเพื่อให้ผุ้ควบคุมหรือซ่อมแซมเดินได้ โดยปลอดภัยบันไดและทางเดินนี้ต้องมีราวสำหรับจับและที่พื้นต้องมีขอบกั้น ปลาย (Toe Board)


ผู้ตั้งกระทู้ WE'01 :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-17 20:29:51


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.