ReadyPlanet.com


boiller Save Energy ลองดูว่าจะประหยัดจริงหรือเปล่าครับ


ผ่าทางตันน้ำมันพุ่ง Save Energy เครื่องกำเนิดไอน้ำกึ๋นคนไทย
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2549 10:21 น.
taweechai  aummuang
โฉมหน้าเครื่อง Save Energy จากสมองคนไทย
              ทำอย่างไรให้ต้นทุนค่าน้ำมันต่ำที่สุดในยุคราคาน้ำมันแพงพุ่ง ดูเหมือนเป็นโจทย์ที่นักธุรกิจทุกรายพยายามหาคำตอบอยู่เสมอ สำหรับกลุ่มเจ้าของอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน Save Energy แล้ว โจทย์ข้อนี้ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์คำตอบมากกว่า 10 ปีเลยทีเดียว
       
       แม้ว่าราคาน้ำมันจะพุ่งทะยานสูงขึ้น แต่ความต้องการใช้จากภาคอุตสาหกรรมยังมีอยู่มาก ผนวกกับความเสียดายไอน้ำจากภาคอุตสาหกรรมปล่อยทิ้งไปอย่างไร้ค่า เป็นจุดเริ่มต้นให้ “ศุภสวัสดิ์ วัฒนะคุณโชติ” ประธานกรรมการจากบริษัท เวสเทิร์นเนอร์ พาร์ อินเตอร์แมค (1998) จำกัด และหุ้นส่วน ใช้เวลานับ 10 ปีกับทุนรอนอีกราว 20 ล้านบาท ที่ได้มาจากการขายบ้านผสมเข้ากับเงิน***้จาก เอสเอ็มอีแบงค์ คิดค้นและพัฒนา นวัตกรรมในฝัน จนกระทั่งคลอดอุปกรณ์เสริมประหยัดพลังงานเครื่องกำเนิดไอน้ำออกมา ภายใต้ชื่อ “เซฟ อีเนอร์จี้” (Save Energy)

ศุภสวัสดิ์ วัฒนะคุณโชติ ประธานกรรมการบริษัทฯ
              ศุภสวัสดิ์  กล่าวว่า เดิมบริษัทรับสร้างเครื่องจักรอุตสาหกรรมและอะไหล่ต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า ส่วน Save Energy เป็นสินค้าตัวใหม่ที่ทีมวิศวกรคิดค้นขึ้น ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งบริษัทฯ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนึ่งเดียวในโลก
       
       สำหรับกลไกการทำงานของ Save Energy วัชรพงศ์ ศรีสวัสดิ์ วิศวกรผู้คิดค้นและหุ้นส่วนคนสำคัญของบริษัท บอกว่า โดยวิธีการแล้ว จะต่อท่อนำไอน้ำจากการผลิตของโรงงานที่ควบแน่นแล้ว ซึ่งมีอุณหภูมิราว 95 องศาฯ เข้าไปที่ตัวเครื่อง ซึ่งจะทำให้เพิ่มอุณหภูมิน้ำขึ้นไปที่ 130 – 160 องศาฯ ให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิในเครื่องกำเนิดไอน้ำ (ซึ่งจะมีอุณหภูมิราวๆ 180 – 200 องศาฯ )ในระยะเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งความได้เปรียบจากการทำความร้อนถึงระดับที่ต้องการ ในเวลาที่รวดเร็วจาก Save Energy นี้ จะหนุนเสริมให้เครื่องกำเนิดไอน้ำสามารถผลิตไอน้ำได้มากขึ้น
       
       “ถ้าอุณหภูมิของน้ำอยู่ที่ 95 องศา การที่จะทำให้ความร้อนของน้ำพุ่งไปที่ระดับใกล้เคียงกับอุณหภูมิ 180 – 120 องศาฯ เพื่อส่งป้อนเข้าสู่เครื่องกำเนิดไอน้ำนั้น จะต้องใช้เวลานาน โดยภายใน 1 ชั่วโมงจะผลิตไอน้ำได้เพียง 5 ตัน แต่ Save Energy จะมีกลไกช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้น้ำได้ในระยะเวลาที่สั้นกว่า โดยจะสามารถผลิตไอน้ำได้ถึง 6.5 ตันภายใน 1 ชั่วโมงเท่านั้น ช่วยร่นระยะเวลาการผลิตให้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ผลิตสินค้าได้เร็วขึ้น เช่น ในหนึ่งเดือน จากที่ผลิต 20,000 ชิ้น ใช้คน 500 คน อาจจะเหลือแค่ 25 วัน ผลิตได้ 20,000 ชิ้น ประหยัดแรงงาน 500 คนไปได้ 5 วัน และผลิตภัณฑ์ของเราจะช่วยลดพลังงานน้ำมันที่ใช้ในการเผาไหม้เพื่อต้มน้ำในระบบกำเนิดไอน้ำ ได้ 10 – 20% ซึ่งตรงนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมต่างๆได้แน่นอน และยังจะช่วยชาติประหยัดพลังงานได้อีกด้วย”
       
       ทั้งนี้ การทำงานของอุปกรณ์ยังสามารถลดสารหนักบางส่วนในระบบน้ำ ซึ่งสารหนักเหล่านี้เมื่อเกิดการจับเกาะจะเป็นเสมือนฉนวนความร้อนในระบบเครื่องกำเนิดไอน้ำ มีผลให้ประสิทธิภาพของเครื่องกำเนิดไอน้ำลดลง ผลที่ตามมาคือเครื่องกำเนิดไอน้ำต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตไอให้เพียงพอกับความต้องการในการผลิตสินค้า ดังนั้น เชื้อเพลิงจึงใช้มากขึ้น ตามอัตราส่วนที่ต้องสูญเสียไปกับฉนวนความร้อนที่เกิดขึ้นจากสารหนักเหล่านี้
       
       นอกจากนี้อุปกรณ์ของบริษัทยังสามารถลดการกัดกร่อนในระบบการเผาไหม้ ยืดระยะเวลาในการบำรุงรักษาให้ยาวขึ้น จึงสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของเครื่องกำเนิดไอน้ำได้บางส่วน พร้อมทั้งสามารถปรับอัตราเร่งสร้างระบบไอน้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วัชรพงศ์ ศรีสวัสดิ์ วิศวกรผู้คิดค้น (ซ้าย) และ ศุภสวัสดิ์
              เมื่อถามถึงราคาและจุดคุ้มทุนที่ลูกค้าจะได้รับ ศุภสวัสดิ์ชี้แจงพร้อมยกตัวอย่างว่า ผลิตตามสเปค ที่ลูกค้าต้องการและคิดราคาตามจำนวนตันของเครื่อง เช่น เครื่องหนึ่ง มี 10 ตันๆ ละ 550,000 บาท ดังนั้น ราคาจึงตกอยู่ที่ 5,500,000 บาท และจุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 12 เดือน หรือช้าสุดก็ 18 เดือน โดยบริษัทฯ จะติดตั้งและทดสอบจนเห็นผลแล้วจึงรับเงินจากลูกค้า โดยการติดตั้ง Save Energy นั้นสามารถติดตั้งได้ในขณะที่เครื่องกำเนิดไอน้ำยังเปิดใช้งานได้ตามปกติ บริษัทรับประกันผลิตภัณฑ์ 2 ปี พร้อมบริการหลังการขาย ส่วนค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหลังจากหมดประกันแล้วตกอยู่ที่ราวๆครั้งละ 10,000 – 20,000 บาท และสำหรับความคงทน มีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปีขึ้นไป
       
       นอกจากนี้เจ้าของผลิตภัณฑ์ประหยัดน้ำมันยังกล่าวรับรองถึงมาตรฐานความปลอดภัยของ Save Energy ว่า โลหะของบริษัท เช่น เหล็ก แป๊บ จะต้องมี Certificate รับรองว่า สามารถรับแรงดันได้เท่าไหร่ ส่วนวาล์วนั้นนำเข้ามาจากเยอรมัน ซึ่งถือเป็นมาตรฐานที่ดีที่สุด มีการตรวจสอบจากวิศวกรในการติดตั้งทุกขั้นตอน
       
       ในระยะเริ่มแรกที่ผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาด Save Energy พบกับความไม่เชื่อมั่นจากลูกค้าในตัวผลิตภัณฑ์ว่าจะสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันได้จริง แต่ทางบริษัทใช้กลยุทธ์ซื้อใจลูกค้าโดยการบริการติดตั้งให้ทดลองใช้ได้ก่อน โดยหากไม่สามารถใช้งานได้จริง ทางบริษัทจะไม่คิดเงิน Save Energy จึงสามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดยักษ์ เช่น เครือซีเมนต์ไทย ไทยอาซูก้า รวมทั้งโรงงานระดับพันล้านในนิคมอุตสาหกรรมของภาคกลาง
       
       สำหรับการขยายตลาดในอนาคต บริษัทยังอยู่ในระหว่างเจรจาทางการค้ากับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งหากสำเร็จ ย่อมหมายถึงเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่บริษัทจะได้จากการติดตั้ง Save Energy ให้กับโรงงานในเครือซีพีที่กระจายตัวอยู่ทั่วภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
       
       อีกทั้ง ยังมีจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทต่างชาติหลายแห่ง ซึ่งจะเป็นโอกาสนำเครื่องไปติดตั้งให้กับโรงงานในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และไต้หวัน เป็นต้น


ผู้ตั้งกระทู้ taweechai :: วันที่ลงประกาศ 2006-05-15 20:38:26


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (519374)

ถึงแม้ไม่ใช่ทฤษฎีใหม่ แต่ก็ทึ่งในการเขียนบทความประชาสัมพันธ์ว่าทำได้ดีอย่างคาดไม่ถึงครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คิงคอง วันที่ตอบ 2006-06-28 14:10:33


ความคิดเห็นที่ 2 (583243)

รบกวนถามครับ

การที่เราจะนำไอน้ำที่ควบแน่นจากโรงงาน(Condensate Return) กลับมาที่ระบบอุณหภูมิเพียงแค่ 95 c และจะทำให้น้ำป้อนเพิ่มอุณหภูมิเป็น 130 – 160 องศาฯ ได้นั้นเราต้องใช้ปริมาณของ Condensate ในจำนวนมากแล้ว Condensate มันจะพอที่จะทำให้อุณหภูมิ เพิ่มได้ขนาดนั้น เพราะถ้า Boiler ขนาด 5 ตันปริมาณน้ำป้อนต่อชั่วโมง ก็ต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 ลิตร/ชม. แล้วปริมาณ Condensate Return มันคงไม่ถึงขาดนั้น แต่ถ้าเราเอา พลังงานส่วนอื่น มาร่วมด้วยกับการทำให้อุณหภูมิน้ำเพิ่มนั้น เช่น ไฟฟ้า Burner หรือแม้แต่ไอน้ำ พลังงานที่ประหยัดได้มันคงยังไม่มากเท่าที่ควร (Eff ของทั้งระบบอาจจะยังไม่เพิ่มมากนัก) และที่สำคัญอีกอย่าง ที่ว่า Boiler ขนาด 5 ตันจะผลิต***น้ำได้เพิ่มขึ้นเป็น 6.5 ตันนั้นในความเป็นจริงแล้วจะเป็นไปได้จิงหรือ เพราะ Boiler ได้ออกแบบทั้งห้องเผาไหม้และ พื้นที่แลกเปลี่ยนความร้อนเป็นค่าคงที่แล้ว เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าเหล่าน้ได้ ดังนั้นเมื่อเราให้พลังงานมากกำลังการผลิตก็ยังเท่าเดิม ส่วนพลังที่เราใส่ไปมากกว่าเดิมนั้นมันก็จะออกปล่องไปเสียหมด

หากที่ผมกล่าวมานั้นไม่ถูกต้องต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย หรือมีหลักการใหม่ที่ทาง Save Energy ได้ทำการคิดค้น และทางกระผมยังเข้าไม่ถึงหลักการดังกล่าว ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ปล. รูปไม่เห็นเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น SteamBurner วันที่ตอบ 2006-08-18 10:44:43



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.